วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วิธีตรวจเช็คเบื้องต้นสำหรับเครื่องทำน้ำร้อน

อาการที่มักพบ
อาการที่1
เครื่องไม่ทำงานขณะเปิดน้ำและสวิทไฟแล้ว เมื่อบิดลูกบิดไป ณ.ตำแหน่งใดๆไฟเขียวดวงล่างติดอยู่
อาการที่2
เครื่องทำงานไฟสีแดงแสดงการทำงานของเครื่องติดเป็นบางดวง เครื่องให้ความร้อนไม่เต็มที่
อาการที่3
เครื่องทำงานไฟสีแดงติดทุกตำแหน่งลูกบิด แต่เครื่องให้ความร้อนไม่เหมือนเดิม
อาการที่4
เครื่องมีอาการผิดปกติเกิดความร้อนที่บริเวณขั้วข้อต่อสายอ่อนแสตนเลสจนทำให้ฝาครอบละลาย ไหม้

การตรวจเช็คแก้ไขอาการที่1

1. สาเหตุเกิดจากแรงดันไม่เพียงพอ
ให้วัดความดันน้ำที่จ่ายให้กับเครื่องว่ามีแรงดันมากกว่า 10PSIG หรือไม่และต้องเช็คด้วยว่าท่อที่จ่ายน้ำนั้นไม่อุดตัน โดยสังเกตดูถ้าเปิดน้ำออกจากท่อ น้ำต้องไหลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แรงตอนเริ่มต้นแล้วค่อยๆอ่อนลงจนสังเกตด้วยตาได้ แสดงว่าท่อจ่ายน้ำนั้นอุดตัน ต้องแก้ไข หากความดันไม่ถึงให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มแรงดัน

2. สาเหตุเกิดจากอุดตันที่ตะแกรงกรองหรือทางด้านน้ำร้อนออก
ให้ถอดขั้วสายอ่อนทางด้านน้ำเข้าเครื่องตรงปลายท่อของเครื่องจะมีตระแกรงกรองอยู่ให้ล้างทำความสะอาด แล้วใส่เข้าเหมือนเดิม แล้วลองเปิดน้ำและไฟดู หากเครื่องยังไม่ทำงานให้ถอดสายอ่อนทางด้านน้ำร้อนออก เปิดน้ำโดยหาถังรองจากสายอ่อน หากเครื่องทำงาน ให้ตรวจเช็คว่าสายอ่อนที่ประกอบอยู่ก่อนนั้นพับงอทำให้
น้ำไหลไม่สะดวกหรือไม่ ต่อไปให้ถอดตระแกรงที่ปากก๊อกน้ำร้อนและที่หัวฝักบัวล้างทำความสะอาดอย่าให้ มีสิ่งกีดขวางทางน้ำร้อนออกและสังเกตท่อน้ำร้อนที่จ่ายออกนั้นอุดตันหรือไม่ โดยสังเกตตามข้อที่แล้ว

3. เทอร์โมคัตเอ้าทตัด
เมื่อตรวจเช็คตามข้อ 2 แล้วเครื่องยังไม่ทำงาน ให้ตรวจสอบเทอร์โมคัตเอ้าททั้ง 2ตัวบนกระบอกฮีตเตอร์ว่าเกิดการตัดออกหรือไม่ โดยใช้แท่งพลาสติกเล็กหรือไขดวงเล็กกดลงบนปุ่มกดทั้ง 2 ตัวหากรู้สึกคลิกแสดงว่ามีการตัดออก สาเหตุเกิดจากตัวกระบอกฮีตเตอร์ไม่สามารถระบายความร้อนออกให้น้ำได้ เนื่องจากการใช้งานไม่ถูกต้อง เช่นเปิดเครื่องในตำแหน่งร้อนสุดแต่กลับหรี่น้ำร้อนมากเกินไป การใช้งานที่ถูกคือพยามเปิดน้ำร้อนให้สุดก่อนเพื่อเป็นการสต๊าร์ทเครื่องให้ ทำงานก่อนแล้วจึงเปิดก๊อกน้ำเย็นผสมจนได้อุณหภูมิที่ต้องการ แต่ยังสามารถหรี่ก๊อกได้อีกแต่ไม่ควรต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง หากน้ำยังร้อนเกินไปให้ปรับลูกบิดลดความร้อนลงมาอีกระดับหนึ่ง

4. การขัดข้องของชุดเพรสเชอร์สวิท
สาเหตุอาจเกิดจาก การติดขัดภายใน เนื่องใช้งานกับน้ำที่มีตะกอนหินปูนสูง มีตะกอนจับอยู่ภายในกระเปาะ ทำให้แม่เหล็กเคลื่อนเข้าออกไม่ได้ หรือแม่เหล็กเสื่อมสภาพ จำเป็นต้องถอดออกล้างและเปลี่ยนลิ้นติดแม่เหล็ก ยางไดอะแฟรม ควรเปลี่ยนโดยใช้ชุดซ่อมจะสดวกกว่า ข้อควรระวังในการถอดประกอบ การหมุนเกลียวข้อต่อต้องตรงตำแหน่งเดิมคือตรงกับท่อน้ำดันกลับเล็ก บนกระเปราะและการหมุนเกลียวต้องระวังอย่าให้ปีนเกลียว หากปีนเกลียวจะใช้ไม่ได้เลย การติดสวิทแม่เหล็กบนกระเปราะก็สำคัญอย่าขันสกูรแน่นเกินไป อาจทำให้เกลียวรูดเสียได้
สาเหตุการติดขัดสำหรับเครื่องที่ติดตั้งใหม่อาจเกิดจาก การขยายตัวของอากาศที่อัดตัวอยู่ในท่อเกิดกระแทกบนยางในทิศทางไม่สมดุลย์ การติดตั้งเครื่อง จำเป็นต้องหลังจากมีการจ่ายน้ำไปแล้วนานพอควรไม่ควรประกอบสายน้ำเข้าออกตัว เครื่อง ขณะยังไม่มีน้ำในท่อ
การทดสอบการติดขัดเบื้องต้นหากเครื่องไม่ทำงาน โดยใช้ไขควงที่มีปลายแม่เหล็กหรือแม่เหล็กขนาดเล็กมาทาบบนสวิทแม่เหล็กบนกระ เปราะเพรสเชอร์สวิท ถ้าเครื่องทำงานแสดงว่ามีการขัดข้องภายใน ระวังอย่าทาบแม่เหล็กนานเกินไปจะเกิดอันตรายได้ การแก้ให้ลองเอาด้ามไขควงเคาะไปบนกระเปราะหลายๆครั้งลิ้นอาจเข้าที่เดิมได้

การตรวจเช็คแก้ไขอาการที่2

เกิดการตัดออกของเทอร์โมคัตเอ้าท์เป็นบางตัว หรือ รีเลย์ชำรุด
สาเหตุเหมือนกับข้อที่ ในอาการที่หรือใช้งานกับน้ำที่มีแรงดันสูงกว่า 40 PSIG เป็นเวลานาน การโกงขึ้นของฝาบนของกระบอบฮีตเตอร์อาจดันให้ฐานตัวเทอร์โมคัตเอ้าทแอ่นขึ้น ดังนั้นอุณหภูมิที่ตั้งไว้จะคลาดเคลื่อน จำเป็นต้องเปลี่ยนเทอร์โมคัตเอ้าท์ ใหม่และต้องหากแหวนบางรองให้ฐานของเทอร์โมคัตเอ้าทสัมผัสพอดีโดยไม่มีแรงกด การชำรุดของหน้าทองขาวของรีเลย์ เมื่อใช้งานไปนานๆ ทำให้ไฟไม่ไหลผ่านเข้าตัวขดลวดฮีตเตอร์ จำเป็นต้องเปลี่ยนรีเลย์ใหม่

การตรวจเช็คแก้ไขอาการที่3

เกิดจากตัวทำความร้อนชำรุด
สาเหตุอาจเกิดจากตัวทำความร้อนเสื่อมสภาพจากการใช้งานหรือใช้กับน้ำที่มีหิน ปูนมากเมื่อหินปูนจับรอบตัวทำความร้อนตัวทำความร้อนไม่สามารถกระจายความร้อน ไปสู่น้ำได้ อนึ่งการใช้งานกับไฟฟ้าที่มีความดันไม่สม่ำเสมอก็เป็นสาเหตุอีกอันหนึ่งให้ ตัวทำความร้อนชำรุดได้เหมือนกัน แก้ไขโดยเปลี่ยนกระบอบฮีตเตอร์ใหม่

เกิดการรั่วกระแสไฟจากเครื่องลงสู่ดิน
สาเหตุอาจเกิดจากน้ำรั่วซึมภายในตัวเครื่อง หรือตัวทำความร้อนชำรุดหากมีการติดตั้งสายดินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว สายดินและสวิทตัดไฟรั่วจะทำงานประสานกันเมื่อเกิดไฟรั่วกระแสไฟจะไหลลงดิน ทันทีเมื่อมีการไหลของกระแสไฟลงดินสวิทตัดไฟรั่วภายตัวเครื่องจะตัดไฟทันที ดังนั้นการใช้งานจึงปลอดภัยจากการเกิดไฟดูด
แต่ในกรณีสายดินไม่ดีไม่สามารถรับกระแสไฟที่รั่วลงดินไปได้ ไฟจะไหลออกทางสายอ่อนสแตนเลสทั้ง2แล้วไหลลงสู่ท่อน้ำถ้าเป็นท่อโลหะไฟฟ้า อาจกระจายลงดินได้ แต่ถ้าเป็นท่อพลาสติกหรือP.V.C ไฟ้ฟ้าอาจเกิดทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ก่อนที่สวิทตัดไฟรั่วจะทำงาน อนึ่งที่บริเวณขั้วต่อสายอ่อนจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่เนื่องจากสายอ่อน ประเภทสายถัดแสตนเลสโลหะไม่ได้ประติดยึดกันแน่นแต่มีลักษณะแค่สัมผัสกันที่ บริเวณขั้วต่อกับตัวสาย จึงเกิดความร้อนที่ขั้วสายอ่อนจนลามไปไหม้ฝาครอบด้านล่างได้ อนึ่งในกรณีที่ใช้สายดินรวมสำหรับเครื่องจำนวนมากสายดินต้องติดตั้งอย่างดี ถูกหลักวิชาการ และจะต้องตรวจดูได้ตามระยะเวลาว่าขาดหรือชำรุด การกระจายไฟฟ้าไม่ดี เนื่องจากแท่งสายดินผุสภาพพื้นดินไม่นำไฟฟ้า มิฉนั้นมีโอกาสเกิดความร้อนที่สายอ่อนได้มาก การใช้สายอ่อนแบบเก่าที่เป็นท่อทองแดงทั้งเส้นจะปลอดภัยกว่าแต่เนื่องจากติด ตั้งยากจึงไม่เป็นที่นิยม ให้ดูวิธีจากบทความการติตั้งสายดินจากหน้าแรกของเราได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น